ผื่นแพ้จากหน้ากากอนามัย

ปี 2020 นี้มีเรื่องให้ได้ใช้หน้ากากอนามัยกันมาตั้งแต่ต้นปี ทั้งฝุ่น PM 2.5 และเชื้อไวรัส COVID-19

หน้ากากอนามัยทางการแพทย์ (Surgical Masks) และอุปกรณ์ป้องกันระบบทางเดินหายใจ (Respirator Masks) จัดเป็นวัสดุอุปกรณ์ทางการแพทย์ใช้สำหรับการป้องกันสิ่งปนเปื้อนทั้งอนุภาคขนาดใหญ่และขนาดเล็กเข้าสู่ร่างกายผ่านทางระบบทางเดินหายใจ หน้ากากที่เราทราบกันมีอยู่ 2 แบบ คือ
– หน้ากากอนามัยทางการแพทย์ (Surgical Masks)
– อุปกรณ์ป้องกันระบบทางเดินหายใจ (Respirator Masks)
 

  1. หน้ากากอนามัยทางการแพทย์ (Surgical Masks)
    หน้ากากชนิดนี้ทำจาก ผ้าชนิดไม่ถักทอ (Nonwoven Fabric) มีทั้งแบบประกอบ 2 ชั้นและ 3 ชั้นในการเชื่อมแต่ละชั้นจะนิยมทำการเชื่อมแบบอัลตร้าโซนิคหลอมเนื้อผ้าให้รวมกันเพื่อประสิทธิภาพที่ดีในการกรอง
  2. หน้ากากอนามัยชนิด Respirator Masks
    หน้ากากชนิดนี้มักเป็นที่นิยมเรียกในชื่อของ N95 ตัวเลข 95 เป็นตัวบ่งบอกถึงค่าประสิทธิภาพในการกรองอนุภาคขนาดเล็กที่ 0.3 ไมครอน มีทั้งหมด 3 ระดับด้วยกัน ได้แก่ 95% (N95), 99% (N99), และ 99.97% (N100 หรือตัวกรอง ชนิด HEPA filter) หน้ากาก N95 นี้จึงเหมาะสำหรับบุคลากรแพทย์หรือผู้ให้การรักษาแก่ผู้ป่วยที่เป็นวัณโรคปอด โรคทางเดินหายใจเฉียบพลันรุนแรง เช่น SARS เป็นต้น

 
ช่วงนี้เชื้อไวรัส COVID -19 มาแรงมาก ขอกล่าวถึงการมีผื่นแพ้ Surgical Masks ก่อนนะคะ ในการแพ้หน้ากากชนิดนี้มีทั้งแพ้ในส่วนของ
 

  • แผ่นผ้า (Nonwoven Fabric) มักทำให้เกิดผื่นบริเวณดั้งจมูกและแก้ม ผื่นจะพอดีกับพื้นที่ใต้หน้ากากอนามัยและจะชัดบริเวณผิวสัมผัสกับหน้ากาก เช่น ดั้งจมูก แผ่นแก้ม ลักษณะผื่นส่วนใหญ่จะเป็นปื้นแดงๆ แต่บางครั้งอาจจะ บวมนูนแบบลมพิษได้ มี report สงสัยว่าการแพ้ น่าจะเกิดจากสารที่ชื่อ Formaldehyde resins มีหน้าที่ช่วยกันน้ำ กันยับ ให้ความแข็งแรง แต่ปัจจุบันในขบวนการผลิตพยายามลดสารตัวนี้ลงแล้ว
    หากแพ้ surgical mask สามารถใส่ mask ผ้าก่อน แล้วใส่ surgical mask ชั้นนอกเพื่อไม่ให้สัมผัสผิวโดยตรง จะช่วยลดการเกิดผื่นได้
  • สายคล้อง ส่วนใหญ่เป็นยาง ผื่นจะคล้ายกับแพ้จากผ้า แต่เกิดบริเวณผิวหนังที่สัมผัสสายคล้อง คือรอบๆหู ไม่เป็นที่จมูก มักเกิดจากการแพ้ Elastic (Rubber Allergy)
  • น้ำยาที่พ่นบนหน้ากาก

 
การวินิจัยแยกโรคมีความสำคัญ เพราะโรคผิวหนังที่พบบ่อยบนใบหน้าหลายชนิดมีรอยโรคในตำแหน่งใกล้เคียงกัน เช่น สิว, Seborrheic Dermatitis, Rosacea เป็นต้น ล้วนมีวิธีการดูแลรักษาจากสาเหตุ และการป้องกันที่แตกต่างกัน หากไม่แน่ใจ สามารถมาปรึกษาแพทย์ที่พรเกษมคลินิกได้ทุกสาขา เราไม่ได้รักษาแต่สิวและความงามเท่านั้นนะคะ ผื่นแพ้ ผื่นผิวหนังอย่างอื่นก็สามารถให้การตรวจวินิจฉัยและดูแลรักษาได้ค่ะ

ที่มา
พ.ญ.ปิยะดา ทิพรังกร
แพทย์ผู้ชำนาญการด้านผิวหนัง
พรเกษมคลินิก