Sharing Experts Verdict; Toxin Purity and Clinical Relevance of Immunogenicity

0/0

#ดื้อโบ #แพ้โบ 

คำนี้หลายคนอาจจะสงสัย ไม่เคยได้ยินมาก่อนว่าคืออะไร ?
ภาวะ #ดื้อโบ #แพ้โบ หมายถึง การที่ร่างกายสร้างภูมิต้านทานต่อสารโบทูลินุมทอกซิน ในวันเสาร์ที่ 7 ก.ย. 2562 ทางบริษัท MERZ Aesthetic ได้จัดงานประชุมวิชาการว่าด้วยเรื่องนี้ โดยมีวิทยากรทั้งชาวไทยและต่างประเทศ ทั้งที่เป็นอาจารย์แพทย์ผิวหนังและผู้เชี่ยวชาญทางด้านภูมิคุ้มกันวิทยามาให้ความกระจ่างในเรื่องนี้ โดยทั่วไปจะแบ่งการดื้อสารโบทูลินุมทอกซิน เป็น 2 แบบ คือ
1. ในคนที่ไม่เคยได้รับการฉีดมาก่อน เมื่อได้รับการฉีดครั้งแรกก็พบว่า ไม่ได้ผล ตั้งแต่แรก ซึ่งกรณีแบบนี้พบได้น้อย
2. ในคนที่ได้รับการฉีดต่อเนื่องมาเรื่อยๆ แล้วค่อยๆเกิดการดื้อ ซึ่งกรณีแบบนี้ คือ คนทั่วไปที่แวะเวียนมารับการฉีดลดริ้วรอยเรื่อยๆ ซึ่งพบได้มากกว่าแบบแรก

เมื่อไรจะสงสัยว่าเราดื้อโบ ?
จะเริ่มรู้สึกว่า ในการฉีดครั้งหลังๆ การตอบสนองต่อยาจะลดลง เช่น แม้จะใช้ยาในขนาดเดิม แต่ริ้วรอยกลับไม่ค่อยหาย ต่างกับการฉีดครั้งก่อนๆ หรือ ริ้วรอยที่เคยฉีด กลับคืนมาเร็วขึ้น เมื่อเทียบกับครั้งก่อนๆ ระยะเวลาที่จะต้องมาฉีดเติมสั้นลงเรื่อยๆ

พิสูจน์ได้อย่างไร ว่าเราดื้อโบ ?
ต้องอาศัยการเจาะเลือดตรวจหาระดับแอนติบอดี้ต่อโบทูลินุมทอกซิน ซึ่งในเมืองไทย มีให้บริการเฉพาะที่ รพ. ศิริราช

เป็นแล้วหายไหม ?
ต้องรอเวลาให้ร่างกายค่อยๆลืมโปรตีนโบทูลินุมทอกซิน แล้วลดปริมาณการสร้างแอนติบอดี้ต่อโบทูลินุมทอกซินลงเอง ซึ่งระยะเวลาขึ้นกับปริมาณแอนติบอดี้ที่สร้างขึ้น และร่างกายเราเอง ซึ่งอาจจะต้องอาศัยระยะเวลาอย่างน้อย 2 ปีครึ่ง ถึงมากกว่า 6 ปี เลยทีเดียว
และที่สำคัญคือ ถ้ารู้ว่าเริ่มดื้อยาแล้ว ไม่ควรเปลี่ยนยี่ห้อไปเรื่อยๆ หรือ เพิ่มปริมาณไปเรื่อยๆ เพราะจะเป็นการกระตุ้นให้ร่างกายสร้างแอนติบอดี้ต่อโบทูลินุมทอกซินเพิ่มขึ้นไปอีก

เพราะฉะนั้น การป้องกันการดื้อยาจะสำคัญที่สุดโดย

  1. การใช้ปริมาณยาที่เหมาะสม ไม่ควรใช้มากกว่า 100 ยูนิต ในการฉีดแต่ละครั้ง
  2. ไม่ควรฉีดซ้ำบ่อย เกินความจำเป็น
  3. เลือกผลิตภัณท์ที่มีมาตรฐาน มีโปรตีนที่ปนเปื้อนน้อย