ไขข้อข้องใจ วัคซีนป้องกันสิวมีจริงหรือไม่

ในช่วงนี้กระแสเกี่ยวกับวัคซีนป้องกันโรค COVID-19 กำลังเป็นที่สนใจ ไม่ว่าจะเป็นวิธีการผลิตหรือชนิดของวัคซีน
หลายคนมีข้อข้องใจว่า “สิว” เป็นโรคหนึ่งที่เกิดจากเชื้อแบคทีเรียเหมือนกัน จะมีวัคซีนป้องกันสิวบ้างหรือไม่ พรเกษมคลินิกจะพาไปหาคำตอบกันค่ะ

การเกิดสิวมาจากเชื้อแบคทีเรีย Cutibacterium acnes (C. acnes) แต่นอกจากจะเป็นเชื้อที่ทำให้เกิดสิวแล้วยังมีโยชน์กับผิวหนังของเราด้วย
ทำหน้าที่ควบคุมความสมดุล ทำให้แบคทีเรียบางชนิดที่ก่อโรคติดเชื้อทางผิวหนังรุนแรงหลายโรคไม่สามารถเข้าสู่เซลล์ผิวหนังเราได้ง่าย ดังนั้นการจะผลิตวัคซีนสิวขึ้นมาเพื่อป้องกันแบคทีเรียชนิดนี้ต้องไม่ง่ายแน่นอน


  • วัคซีนชนิดเชื้อตาย (Heat-killed C. acnes)
    หากจะผลิตเป็นวัคซีนป้องกันสิว ก็จะต้องทำให้แบคทีเรีย C. acnes ตาย แล้วฉีดเข้าไปในร่างกาย เพื่อให้ร่างกายสร้างภูมิต้านทานต่อแบคทีเรียชนิดนี้
    ข้อเสีย ไม่จำเพาะเจาะจงพอ และอาจเกิดผลข้างเคียงตามมาได้ เนื่องจากไปกระทบสมดุลเชื้อที่ผิวหนัง
  • วัคซีนชนิดยับยั้ง Sialidase (Sialidase-based Acne Vaccine)
    เป็นสารชนิดหนึ่งที่ C. acnes สร้างออกมากระตุ้นให้เกิดสิวและการอักเสบของสิวตามมา ดังนั้นวิธีนี้จึงเป็นการให้ร่างกายสร้างภูมิคุ้มกันต่อ Sialidase ขึ้นมาเพื่อป้องกันสิว
    ยังต้องมีการศึกษาในอนาคตอีกว่าจะรักษาสิวที่รุนแรงได้หรือไม่ รวมทั้งผลข้างเคียงที่อาจเกิดขึ้น
  • วัคซีนชนิดอาศัยแบคทีเรีย E. coli เข้าช่วย (E. coli Vector-based Vaccine)
    วัคซีนสิวชนิดนี้คือ ใช้เชื้อแบคทีเรียชนิด E. coli เข้าไปเป็นตัวช่วยให้ร่างกายสร้างภูมิคุ้มกันขึ้นมา ซึ่งการทดลองได้ผลน่าพอใจ แต่อาจต้องมีการศึกษาเพิ่มเติม
  • วัคซีนชนิดยับยั้ง CAMP factor 2
    เป็นการที่เชื้อ C. acnes สร้างสาร CAMP (Christie-Atkins- Munch-Peterson) ขึ้นมาโดยเฉพาะตัว factor 2 จะกระตุ้นให้เกิดการอักเสบและเกิดสิวขึ้นมา ซึ่งสร้างภูมิคุ้นกันที่มีต่อ CAMP factor 2 สามารถลดการอักเสบที่เกิดขึ้นจากเชื้อ C. acnes ได้เป็นอย่างดี แต่ต้องศึกษาต่อไปอีกว่าสามารถครอบคลุมเชื้อ C. acnes ได้ทุกสายพันธุ์หรือไม่ รวมทั้งผลข้างเคียงที่อาจเกิดขึ้น


เราอาจมีโอกาสที่จะได้เห็นการฉีดวัคซีนป้องกันสิวในอนาคต ถึงแม้ในตอนนี้ยังไม่มีวัคซีนสิวออกมาให้ฉีดกัน แต่ในปัจจุบันมีเทคโนโลยีในการรักษาสิวให้เลือกมากมาย และหากเพื่อนๆ มีปัญหาเรื่องสิว สามารถเข้ารับคำปรึกษาจากแพทย์เฉพาะทางผิวหนังที่พรเกษมคลินิกได้นะคะ

เรียบเรียงโดย
นายแพทย์ ภูริชญ์ ภูรีศรีศักดิ์
แพทย์เฉพาะทางผิวหนัง ประจำพรเกษมคลินิก

เอกสารอ้างอิง
1. Keshari S, Kumar M, Balasubramaniam A, Chang TW, Tong Y, Huang CM. Prospects of acne vaccines targeting secreted virulence factors of Cutibacterium acnes. Expert Rev Vaccines. 2019;18(5):433-7.

2. Wang Y, Hata TR, Tong YL, Kao MS, Zouboulis CC, Gallo RL, et al. The Anti-Inflammatory Activities of Propionibacterium