ทำความรู้จัก IVERMECTIN ยารักษาไรขน ที่ช่วยป้องกันโควิด-19

ไรขน (Demodex) เป็นสิ่งมีชีวิตขนาดเล็กมีขนาดประมาณ 0.3-0.6 มิลลิเมตร อาศัยอยู่ในรูขุมขนที่มีโครงสร้างของต่อมรูขุมขน (Pilosebaceous unit) ของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม เช่น ผิวหน้าของมนุษย์ หรือในสัตว์เลี้ยง เช่น สุนัข, แมว เป็นต้น

ไรขนในมนุษย์และสัตว์จะมีความแตกต่างกัน เพราะไรขนในมนุษย์แบ่งเป็น 2 ชนิด

  • ชนิดแรก จะอยู่เต็มรูขุมขน (Demodex Follioculorum)
  • ชนิดที่สอง จะอยู่ที่ท่อลำเลียงน้ำมันเซบั้ม (Demodex Brevis)


ไรขนเป็นสิ่งมีชีวิตที่อาศัยอยู่แบบพึ่งพากับสิ่งมีชีวิตนั้นๆ โดยปกติมนุษย์จะมีไรขนอยู่ไม่มาก และไม่ก่ออันตรายในภาวะที่ผิวหนังปกติดี แต่ในคนที่มีความผิดปกติของผิวหนังจะทำให้ไรขนเพิ่มจำนวนมากกว่าเดิม หรืออาจก่อให้เกิดการอักเสบต่อเนื่องที่ผิวหนัง เรียกว่าภาวะปรสิตของไรขน ซึ่งผู้ป่วยมักจะมีอาการที่ใบหน้า และเปลือกตาได้บ่อย หรือมีอาการของโรคที่เรียกว่า โรคผิวหนังและรูขุมขนอักเสบจากไรขน (Demodex folliculitis) จะมีอาการได้หลายแบบ เช่น ผื่นคัน ผิวแห้ง มีสะเก็ดเป็นขุยที่รูขุมขน สะเก็ดเป็นหย่อม ผื่นแดงเรียบ ตุ่มคล้ายเป็นสิว หรือเกี่ยวภาวะโรซาเชีย (Rosacea) เป็นต้น

การรักษาในปัจจุบันเป็นรักษาเพื่อทุเลาอาการ มีผู้ป่วยเพียงจำนวนหนึ่งที่ไม่มีอาการหากไม่พบตัวกระตุ้น เช่น สัมผัสการระคายในขนสัตว์, ยาทาบางชนิด, ความร้อน, ดื่มแอลกอฮอล์, สุขภาพองค์รวมไม่ดี

วิธีการรักษา

  • ยาทา และยารับประทาน  เช่น ยาต้านปรสิต (Anti parasite) บางชนิด หรือยาต้านแบคทีเรียที่มีฤทธิ์ต้านปรสิตด้วย เช่น Metronidazole หรือ ยา Ivermectin
  • การทำหัตถการด้วยเลเซอร์บางชนิด  แพทย์จะเป็นผู้พิจารณาตามความเหมาะสมเพื่อเป็นการรักษาทางเลือก
  • เลือกใช้ผลิตภัณฑ์ล้างหน้าอ่อนโยนต่อผิวที่ไม่มีสารระคายเคือง
  • เลือกการทาครีมที่อ่อนโยนเพื่อให้ความชุ่มชื้นต่อผิว, หลีกเลี่ยงครีมให้ขาวใส และครีมกันแดดที่ล้างออกยาก
  • หลีกเลี่ยงอากาศร้อน, มลภาวะต่างๆ และการดื่มแอลกอฮอล์


ในปัจจุบันทางการแพทย์ได้พบความพิเศษของยากิน Ivermectin
ที่นอกจากจะช่วยจัดการกับตัวไรขนแล้วยังช่วยรักษาโรคที่เกี่ยวข้องให้ดีขึ้นได้ ยังมีรายงานการศึกษาที่น่าสนใจพบว่า ยา Ivermectin มีฤทธิ์ช่วยลดการแบ่งตัวของเชื้อ SAR-COV-2 (เชื้อก่อโรคโควิด19) หากได้รับการรักษาตั้งแต่ระยะแรกของโรค

การศึกษาทางวิชาการฉบับหนึ่ง มีการใช้ยา Ivermectin เพื่อรักษาผู้ป่วยโควิด โดยศึกษาความปลอดภัยของยาและการลดลงของเชื้อ SAR-COV-2 ในผู้ป่วยที่นอนรักษาในโรงพยาบาลที่มีอาการน้อย ในเมือง ธากา (ดักกา) ประเทศบังคลาเทศ จำนวน 72 คน โดยแบ่งเป็น 3 กลุ่ม


  • กลุ่มที่ 1 ได้ยา Ivermectin 12 มก. วันละครั้ง 5 วัน
  • กลุ่มที่ 2 ได้ยา Ivermectin 12 มก. วันละ 1 ครั้ง ร่วมกับ ยาปฏิชีวนะ Doxycycline 200 มก. วันละครั้ง และ Doxycycline 100 มก. วันละ 2 ครั้ง 4 วัน
  • กลุ่มที่ 3 ได้รับยาควบคุม (ยาหลอก-placebo) พบว่า กลุ่มที่ได้ Ivermectin เมื่อเทียบกับยาหลอก มีผลที่ดีดังนี้
    1. ยา Ivermectin ลดเชื้อได้ (viral clearance) เมื่อเทียบกับยาหลอกใน วันที่ 7 และ 14 (ในผู้ที่มีโรคร่วม) ในวันที่ 9 และ 13 (ในผู้ป่วยไม่มีโรคร่วม) หลังเริ่มรักษาโดยดูจากค่า viral nucleic acid Ct value
    2. ยา Ivermectin ลดความรุนแรงของโรคได้ เมื่อเทียบกับยาหลอกใน วันที่ 7 หลังเริ่มรักษา โดยดูค่า CRP และ LDH
    3. กลุ่มรักษาที่ 1 และ 2 ให้ผลไม่ต่างกัน


เพื่อยืนยันผลการรักษาในระดับที่ดียิ่งขึ้น ยังคงต้องมีการศึกษาด้วยคนไข้ที่มากขึ้น และหลากหลายสถานที่ แต่เบื้องต้นก็แสดงให้เห็นว่า ยา Ivermection เป็นตัวเลือกที่น่าสนใจในการรักษาผู้ป่วยโควิดในระยะแรก ที่นอกจากลดความรุนแรงโรคแล้ว อาจมีผลลดการแพร่กระจายเชื้อสู่ผู้อื่นด้วย ซึ่งจะเป็นประโยชน์อย่างมากในการควบคุมโรคอีกวิธีหนึ่งครับ

เรียบเรียงโดย
นายแพทย์ สมศักดิ์ โตวณะบุตร
แพทย์เฉพาะทางผิวหนัง ประจำพรเกษมคลินิก

เอกสารอ้างอิง
1. Ahmed S, Karim MM, Ross AG, Hossain MS, Clemens JD, Sumiya MK, Phru CS, Rahman M, Zaman K, Somani J, Yasmin R, Hasnat MA, Kabir A, Aziz AB, Khan WA. A five-day course of ivermectin for the treatment of COVID-19 may reduce the duration of illness. Int J Infect Dis. 2021 Feb;103:214-216. doi:
2. Sherin Jacob et al.Treatment of Demodex-associated inflammatory skin conditions: A systematic review Dermatol Ther. 2019 Nov ;32(6)
3. Bachmeyer, C.,& Moreno-Sabater, A. (2017). Demodex folliculitis. Canadian Medical Association Journal, 189(25), E865.
4. Chen, W., & Plewig, G. (2014). Human demodicosis: Revisit and a proposed classification. The British Journal of Dermatology, 170(6), 1219– 1225.
5. Elston, C. A., & Elston, D. M. (2014). Demodex mites. Clinics in Dermatology, 32(6), 739– 743.