ปานโอตะและปานโฮริ

ปานโอตะ (Nevus of Ota) เป็นปานแต่กำเนิดชนิดที่พบบ่อยในชาวเอเชีย มีลักษณะเป็นจุดเล็กๆสีเทาดำ อยู่รวมกันเป็นกลุ่ม จนดูคล้ายเป็นปื้น บริเวณขมับ โหนกแก้ม ดั้งจมูก ไล่ลงมาจนถึงบริเวณริมฝีปากบน และมักพบรอยโรคบริเวณเยื่อบุตาขาว ในช่องปาก รวมทั้งบริเวณเยื่อแก้วหูร่วมด้วย โดยรอยโรคมักเป็นตั้งแต่เกิดหรือเริ่มในวัยเด็ก มักพบเพียงซีกใดซีกหนึ่งบนใบหน้า ส่วนน้อยที่พบได้ทั้ง 2 ข้างของใบหน้า

 

(ภาพก่อนและหลังทำเลเซอร์ปานโอตะ)
( ภาพก่อนและหลังทำเลเซอร์ปานโอตะ )

ปานโฮริ (Nevus of Hori) เป็นผื่นสีน้ำตาลเทาที่โหนกแก้ม อาจพบที่หน้าผาก ขมับและจมูกได้ ลักษณะเดียวกับปานโอตะ เพียงแต่เกือบทุกรายเป็นทั้งสองข้างของใบหน้า และจะไม่พบรอยโรคในเยื่อบุอื่นๆ ผื่นมักเริ่มเป็นเมื่ออายุ 30 ปีเศษ และพบได้ในเพศหญิงมากกว่าเพศชาย

การรักษาปานโอตะ และปานโฮริในปัจจุบัน เป็นการรักษาโดยการใช้เลเซอร์ที่เจาะจงทำลายเม็ดสีดำ ยิงในตำแหน่งที่มีรอยโรค หลังการรักษาจะมีแผลถลอกตื้นๆเป็นเวลา 7 – 8 วัน จากนั้นจะมีรอยดำตามหลังการทำเลเซอร์ประมาณ 2 – 3 เดือน การทำเลเซอร์แนะนำให้ทำซ้ำทุก 1 – 3 เดือน ขึ้นกับสภาพผิวซึ่งต้องพิจารณาโดยแพทย์ โดยการรักษา 3 ครั้งแรกอาจจะยังดูว่าสีของปานไม่จางลงเท่าไหร่ แต่ตั้งแต่ครั้งที่ 4 เป็นต้นไป สีจะจางลงไปมาก การรักษาต้องทำซ้ำประมาณ 7 – 8 ครั้ง จึงจะหายสนิทโดยไม่มีแผลเป็น